หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน

ความหมายจิตวิทยาการเรียนการสอน 
         ความหมาย “ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
      จิตวิทยากับการเรียนการสอน จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้ เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับ พัฒนาการของผู้เรียน
จิตวิทยาการศึกษา
          คือ ศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนในสภาพการ เรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการ เรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ จิตวิทยาการศึกษายังมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล ครูอาจารย์จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษาเพื่อจะได้เข้า ใจ     พฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน ดังนั้น ในเรียงความบทนี้ผมจึงอยากจะพูดถึงจิตวิทยาการศึกษาระดับพื้นฐานที่ได้เรียน มาในภาคการศึกษานี้ ในฐานะนิสิตคณะครุศาสตร์ที่จะต้องจบการศึกษาออกไปเป็นครู
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ กับการเรียนการสอ
                 1. มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
                 2. ประการที่สอง นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน 
                             1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
                            2. มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
                            3. มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
                            4. มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
จิตวิทยา ครู 
           ครู หมายถึง ผู้สอน มาจากภาษาบาลีว่า “ครุ” ภาษาสันสกฤตว่า “คุรุ” แปลว่า หนัก สูงใหญ่ - ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ - ครูต้องมีความหนักแน่น สุขุม ไม่วู่วาม ทั้งความคิดและการกระทำ
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน

                   - ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
                   - ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
                   - ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
                   - ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
                           1 ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได
                          2 สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อน ที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
                            3 การตอบสนอง (Response) เมื่อ มีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
                            4 การได้รับรางวัล (Reward) ภาย หลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
พฤติกรรมการเรียนรู้
     จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
     1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
     2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
     3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
     1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
     2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่าง ๆ
     3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
     4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก.
หลักของการเรียนรู้ มี 3 รูปแบบ คือ
     1.การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical conditioning)เป็นการทดลองโดยใช้สัตว์เป็นตัวทดลอง มีผงเนื้อและกระดิ่งเป็นสิ่งเร้า จะใช้กระดิ่งเป็นตัววางเงื่อนไข จึงเรียกกระบวนการนี้ว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
     2.การวางเงื่อนไขในมนุษย์วัตสัน และเรย์นอร์ ได้ร่วมกันวางเงื่อนไขกับคน ซึ่งเป็นการทดลองที่มีชื่อเสียงมากตามแนวคิดของวัตสัน เขาเห็นว่าการเรียนรู้คือการนำเอาสิ่งเร้าไปผูกพันกับการตอบสนองและการตอบสนองที่คนเรามีติดตัวมาก็คือ อารมณ์ เช่น กลัว โกรธ รัก ดังนั้นเขาจึงศึกษาการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัวของเด็กการทดลองได้กระทำกับเด็กคนหนึ่งชื่อ อัลเบิร์ต (Albert) มีอายุ 11 เดือน
     โดยปกติเด็กคนนี้ไม่รู้จักกลัวสัตว์ใดๆ เลย และชอบเล่นตุ๊กตาที่ทำด้วยผ้าสำลีเป็นขนปุกปุย ต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวที่มีขนปุกปุยน่ารัก มีความเชื่องกับคนมาให้เด็กคนนี้ดู พอเด็กเห็นก็พอใจอยากเล่น จึงคลานเข้าไปจับต้องและเล่นกับหนูขาวจนเป็นที่พอใจ แล้ววัตสันก็นำหนูขาวออกไป ครั้นต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวมาให้เด็กคนนี้ดูอีก เมื่อเด็กเห็นก็ดีใจรีบคลานเข้าไปจะจับหนูขาว พอเข้าไปใกล้กำลังเอื้อมมือจะจับ วัตสันก็เคาะเหล็กทำให้เกิดเสียงดัง เด็กจึงตกใจกลัง ร้องไห้ ไม่กล้าจับหนูขาว วัตสัตได้ทดลองในลักษณะนี้ประมาณ 5 ครั้งติดกัน ทุกครั้งเด็กจะร้องไห้และตกใจกลัว ในที่สุดก็เกิดกลังหนูขาว ซึ่งเพียงแต่เห็นหนูขาวอยู่ไกล ๆ ก็ร้องไห้เสียแล้ว นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า เด็กกลัวหนูขาวเพราะถูกวางเงื่อนไข
     3.การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (operant conditioning)สกินเนอร์ และ ธอร์นไดค์ เป็นผู้นำที่สำคัญและในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ ธอร์นไดค์ได้ศึกษาถึงความสามารถในการคิดและหาเหตุผลของสัตว์ ทำให้เขาค้นพบหลักการเรียนรู้แบบการกระทำซึ่งสกินเนอร์ก็ได้ให้ความสนใจในแนวคิดนี้และได้ให้ชื่อว่า การวางเงื่อนไขแบบการกระทำการศึกษาในตอนแรกได้ศึกษากับ แมว สุนัข และลิง แต่ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีเป็นการศึกษากับแมว โดยเขาจะจับแมวที่กำลังหิวใส่กรงใบหนึ่งที่เขาสร้างขึ้นมา กรงนั้นมีชื่อว่า กรงประตูกล (Puzzle Box) ซึ่งที่กรงจะมีเชือกและลวดสปริงผูกติดต่อกับแผ่นไม้เล็ก ๆ ถ้าบังเอิญไปกดแผ่นไม้เล็ก ๆ นี้จะทำให้เกิดกลไกการดึงทำให้ประตูเปิดออกได้ การทดลองของเขาจะเริ่มโดยจับแมวที่กำลังหิวใส่ไว้ในกรง และข้าง ๆ กรงด้านนอกจะมีปลาดิบวางไว้ไม่ไกลพอที่แมวจะมองเห็นได้ถนัด ในการทดลองสองสามครั้งแรก แมวซึ่งหิวมีอาการงุ่นง่านเพื่อหาทางออกไปกินปลา มันปฏิบัติการตอบสนองมากมายโดยวิ่งไปหลักกรง หน้ากรง เอาอุ้งเท้าเขี่ย เอาสีข้างถูกรง แต่ทั้งหมดก็เป็นไปด้วยการเดาสุ่มจนกระทั่งบังเอิญแมวไปถูกแผ่นไม้เล็ก ๆ นั้น ทำให้ประตูเปิดออก แมวจึงได้กินปลาดิบ
จิตวิทยาการเรียนการสอน
จิตวิทยาการศึกษา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ จิตวิทยาการศึกษายังมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล  ครูอาจารย์จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษาเพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอน 
วัตถุประสงค์ของจิตวิทยาการศึกษา
 1. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมีระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science)
 2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ
 ประโยชน์ของการศึกษาจิตวิทยา
                เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน  ในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ  โดยเฉพาะในงานราชการ  การทำหน้าที่จำหน้าและชื่อคนในบังคับบัญชาและลูกค้า  การปกครองให้คนร่วมมือกลมเกลียว  วิธีสอบสัมภาษณ์เลือกคนเข้าทำงานและการใช้คนให้เหมาะสมกับชนิดของงาน  วิธีเอาใจลูกค้าด้วยประการต่าง ๆ  ฯลฯ
                มีความรู้เกี่ยวกับการเล่นของเด็กและการกีฬา  จิตวิทยาวิเคราะห์ให้ทราบว่า  การเล่นคืออะไร  และบอกให้ทราบว่าเด็กคนไหนมีความเจริญทางจิตแค่ไหน   ควรเล่นอะไร จึงจะได้ประโยชน์  การให้กำลังใจในการเล่นกีฬาเป็นส่วนที่ช่วยให้คนเล่นกีฬาชนะเท่า ๆ กับกำลังกาย  ความรู้ในทางจิตวิทยาจะทำให้ครูพละศึกษาและหัวหน้าชุดกีฬาประเภทต่าง ๆ  สามารถปลุกกำลังใจของผู้เล่นได้ถนัดมือขึ้น  จิตวิทยาของคนดูกีฬา  ดูละคร  หรือฟังปาฐกถา  ก็เป็นสิ่งที่ผู้เล่นกีฬา  ผู้แสดงละคร  หรือแสดงปาฐกถาควรรู้ไว้
                จิตวิทยาช่วยให้การดำเนินชีวิตในสังคมเป็นไปโดยสะดวกและราบรื่น    ตามหลักจิตวิทยามีสิ่งสำคัญอยู่  ๓ ประการในเรื่องการปรับปรุงตัวเองให้เหมาะกับสังคม  ()  ความรู้ในเรื่องมรรยาทและเรื่องจารีตประเพณี  ()  ความรู้สำหรับทำตัวให้สนใจผู้อื่น ()  นิสัยที่จะคอยตรวจพิจารณา  และตีความพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ของผู้อื่น  เพื่อให้ทราบว่าเขามีท่าทีความรู้สึก  (ATTITUDE)   และอารมณ์อย่างไร
                การรักษาพยาบาลต้องอาศัยจิตวิทยา    เพราะกำลังใจของคนไข้เป็นส่วนที่แพทย์และนางพยาบาลต้องนึกถึงไม่น้อยว่าการรักษาพยาบาลด้วยยา  ทั้งแพทย์และนางพยาบาลต้องมีอัตลักษณ์  (CHARACTER)  ที่อดทนต่อการจู้จี้ของคนไข้ได้โดยไม่ให้มีเรื่องสะเทือนจิตใจของตัวเอง  และต้องมีกุศโลบายร้อยแปดเพื่อเอาใจคนไข้โดยมิให้เสียถึงหลักการรักษาพยาบาล
                จิตวิทยาช่วยเกี่ยวกับกฎหมายในเรื่องการสืบพยาน  การสืบพยานเป็นเรื่องของจิตวิทยาเท่า ๆ  กับเป็นปัญหาทางกฎหมาย  ศาลห้ามทนายความไม่ให้ถามนำ  เพราะพยานมักจะรับการเสนอแนะจนทำให้ความจำเลอะเลือน   และไม่สามารถให้การได้ตามที่พยานรู้เห็นจริง ๆ  บางคนเอาสิ่งที่ตัวเห็นจริง ๆ ปนกับสิ่งที่ตัวนึกว่าเห็นโดยไม่มีเจตนาจะพูดเท็จ  เด็ก ๆ มักเป็นอย่างนี้  เพราะฉะนั้น  ศาลจึงไม่ถือว่าคำให้การ

ประโยชน์ของจิตวิทยา
๑เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 
  มีความรู้เกี่ยวกับการเล่นของเด็กและการกีฬา 
 จิตวิทยาช่วยให้การดำเนินชีวิตในสังคมเป็นไปโดยสะดวกและราบรื่น 
   การรักษาพยาบาลต้องอาศัยจิตวิทยา 
 จิตวิทยาช่วยเกี่ยวกับกฎหมายในเรื่องการสืบพยาน  
 .  จิตวิทยาเป็นหัวใจของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ 
คุณภาพผู้เรียน
                         เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของคุณภาพการศึกษา ถ้าผู้เรียนไม่มีความพร้อม  หรือขาดคุณภาพก็ไม่สามารถสนับสนุนให้เกิดคุณภาพในการศึกษาได้  ดังนั้นผู้สอนจำเป็นต้องมีความเข้าใจและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีคุณภาพ  โดยจะต้องเข้าใจสภาพของผู้เรียนและกระตุ้นผู้เรียน  ดังนี้
                         1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล  (Individual  Differences)
                                1.1 ความชำนิชำนาญแต่ดั้งเดิม
                                      1.1.1 สิ่งแวดล้อมทางบ้าน
                                      1.1.2 การฝึกฝนที่เคยผ่านมา
                                      1.1.3 ความช่ำชองในงาน  (ประสบการณ์)
                                      1.1.4 ความสนใจและงานอดิเรกที่ชอบ
                                1.2 ความแตกต่างในอารมณ์
                                      1.2.1 จุดมุ่งหมายหรือความหมาย
                                      1.2.2 นิสัย (คือการทำบ่อย ๆ)
                                            1.2.2.1 พวกชอบเก็บตัว  (Introvert)
                                            1.2.2.2 พวกชอบแสดงออก
                                1.3 ความแตกต่างทางกาย
                                      1.3.1 ที่นั่ง  แสงสว่าง อุณหภูมิ การระบายอากาศ
                                      1.3.2 ประสาทสัมผัส
                                      1.3.3 อายุไม่ใช่สิ่งขีดขั้นในการเรียน
                                1.4 ความสามารถในการที่จะเรียน
                                      1.4.1 สติปัญญา
                                      1.4.2 การวัดสติปัญญา
                                            1.4.2.1 ความถนัด  (Aptitude)
                                                         คือระดับแห่งความสามารถในการเรียน หรือการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
                                            1.4.2.2 ประสบการณ์  (Experience)
                                                         คือความรู้หรือความชำนาญงานที่ผ่านมา ซึ่งสามารถจะวัดได้
                                      1.4.3 การวัดความสามารถตามมาตรฐานของ ทร.อเมริกา
                                            1.4.3.1 General  Classification  Test  (GCT)
                                                         วัดความสามารถในการเข้าใจคำต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างคำเหล่านั้น  ทั้งนี้ก็เพื่อทดสอบความสามารถในการหาเหตุผลที่จะรู้  ความสัมพันธ์  ไม่ว่าเป็นคำสอน หรือความคิดเห็น และความเข้าใจในการสอน
                                            1.4.3.2  Arithmetic Test  (ARI)
                                                  วัดความสามารถในการใช้จำนวนเลข และเหตุผลในการคำนวณ  สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ
                                            1.4.3.3  Mechanical  Test  (MECH)
                                                         วัดความรู้ในด้านเครื่องยนต์กลไกและไฟฟ้า ซึ่งเป็นการวัดความเข้าใจในหลักการช่าง แบ่งแยกออกได้เป็น 3 อย่าง คือ
                                                         - Mechanical  Aptitude  Test  (MAT)
                                                           วัดความสามารถในการทำงานทางการกล
                                                         - Mechanical Knowledge  Test  (MK MECH)
                                                           วัดความรู้ในการสัมพันธ์ของเครื่องมือทางการกล
                                                         - Electrical  Knowledge  Test  (MK  ELECT)
                                                           วัดความรู้ในการสัมพันธ์ของเครื่องมือทางไฟฟ้า
                                            1.4.3.4 Clerical  Aptitude  Test  (CLEAR)
                                                         วัดความเร็วและความถูกต้องในงานธุรการ  โดยเฉพาะในการสะกด  การันต์และการตรวจสอบ
                                            1.4.3.5 Special  Test
                                                         คาดคะเนความสำเร็จในการฝึกพิเศษ  เช่น  Sonar  Pitch  Memory  Test, Telephone  Talker  Test  ฯลฯ เป็นต้น
                                      1.4.4  ใช้ผล
                                            1.4.4.1 หาระดับที่จะสอน ช้า ปานกลาง เร็ว
                                            1.4.4.2 สอนเป็นรายบุคคล
                                                         - พวกที่เรียนเก่งหรือสนใจเป็นพิเศษ
                                                         - มอบหมายงานพิเศษ
                                                         - สนับสนุนให้ก้าวหน้า
                                                         - ค้นคว้านอกห้อง
                                                        - ช่วยพวกที่เรียนช้า
                                                         - พวกที่เรียนช้า
                                                         - จัดชั้นกวดวิชา
                                                         - ให้งานมากขึ้น
                                                         - จัดผู้เรียนที่เก่งช่วยกวด
                                                         - สัมภาษณ์ผู้เรียนที่ไม่รู้เรื่อง
                         2. การกระตุ้น  (Motivation)
                                2.1 คำจำกัดความ คือการชักนำให้เกิดความสนใจ และรักษาไว้ซึ่งความต้องการที่จะเรียน
                                2.2 ความต้องการและความปรารถนาของผู้เรียน
                                      2.2.1 จำได้และพึงพอใจ
                                      2.2.2 รู้สึกว่าเขาสามารถก้าวหน้า
                                      2.2.3 รู้ว่าต้องมีทางสำเร็จ
                                      2.2.4 รู้สึกว่าครูเอาใจใส่ และรู้ความลำบากของผู้เรียน
                                      2.2.5 รู้ผลที่เกิดขึ้น
                                      2.2.6 มีรางวัลหรือคำชมเชย
                                2.3 โดยการแข่งขัน
                                      2.3.1 อย่าให้ถึงกับเกิดการขัดแข้งขัดขาในเรื่องการเรียน
                                      2.3.2 แข่งขันกับตนเอง เป็นดีที่สุด
                                2.4 ผู้เรียนขาดความสนใจเพราะ
                                      2.4.1 ครูไม่มีการเตรียมการ
                                            2.4.1.1 รู้วิชาที่สอนอย่างลางเลือน
                                            2.4.1.2 ขาดเครื่องช่วยการศึกษา
                                      2.4.2 การสอนของครู
                                            2.4.2.1 เร็ว เบื่อ
                                            2.4.2.2 ช้า ขาดความสนใจ
                                      2.4.3 การฝึกสอนไม่เหมาะสม
                                            2.4.3.1 เกินความสามารถของผู้เรียน
                                            2.4.3.2 ง่ายเกินไป
                                            2.4.3.3 ไม่จำเป็น
                                      2.4.4 ไม่น่าสนใจ
                                      2.4.5 ผู้เรียนไม่ได้ปฏิบัติเลย
                                            2.4.5.1 ถกปัญหา
                                            2.4.5.2 ถาม
                                            2.4.5.3 จดโน้ต
                                      2.4.6 มีสิ่งรบกวนความสนใจ
                                            2.4.6.1 ภายนอก
                                            2.4.6.2 ภายใน
                                      2.4.7 ความกลัวและวิตกกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ
                                            2.4.7.1 เรื่องทางบ้าน
                                            2.4.7.2 ทางการงาน
                                            2.4.7.3 ทางสุขภาพ
                                            2.4.7.4 กลัวสอบตก


ความมุ่งหมายของการสอน
                         จุดมุ่งหมายของการสอนนั้น  เราต้องการที่จะให้ผู้เรียนเจริญงอกงามทุกวิถีทาง  ทั้งทางร่างกาย  สติปัญญา  อารมณ์  สังคม  เพื่อผู้เรียนจะได้แก้ปัญหาในชีวิต  และสามารถปรับปรุงตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม  และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม  ฉะนั้น  เมื่อครูมีความรู้ในวิชาต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว  ครูจำต้องรู้  และเข้าใจจุดมุ่งหมายของการสอนอีกด้วย  เพื่อเป็นแนวทางว่าเราจะ สอนอะไร  สอนทำไม  สอนอย่างไร  จึงจะส่งเสริมความเจริญ  และความสามารถรอบด้านตามจุดมุ่งหมายอันนั้น  ครูไม่ควรสอนให้ผู้เรียนรับความรู้ของตนไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น  แต่ครูจะต้องรู้หน้าที่ของการสอนว่า การสอนที่แท้จริงตามความเห็นของนักการศึกษาในปัจจุบันนั้น คือ  การจัดให้ผู้เรียนได้มีกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้คิดวางโครงการด้วยตนเอง  นำผู้เรียนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอันเป็นประโยชน์  ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทุกวิถีทาง  ดังนั้นในการสอนเราจะเพ่งเล็งแต่เนื้อวิชาอย่างเดียวไม่ได้  จะต้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในวิชาที่สอนเพื่อให้เด็กสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ด้วย
                         การสอนที่ให้ได้ผลสมความมุ่งหมาย  ครูจะต้องสอนให้ผู้เรียนได้รับสิ่งต่อไปนี้
                         1. สอนให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถจำสิ่งที่สอนได้
                         2. สอนให้เกิดความชำนิชำนาญ  มีทักษะ  จากประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเด็ก
                         3. สอนให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาในชีวิตของตนเองได้  รู้จักวางโครงการในชีวิตของตนเอง และนำความรู้จากการสอนไปแก้ไขปรับปรุงชีวิต  และสังคมของผู้เรียนให้ดีขึ้นอีกด้วย
                         4. สอนให้ผู้เรียนรู้จักนำเอาความรู้เหล่านั้นไปศึกษาหาความรู้ให้กว้างขวางต่อไป  โดยให้
ผู้เรียนสามารถนำเอาความรู้จากการสอนเดิม  ไปใช้เป็นรากฐานในการศึกษาหาความรู้ที่ขยายวงกว้างออกไปทุกทีไม่หยุดนิ่ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น